LOPBURI FULL DAY TOUR
วันเดียวเที่ยวครบลพบุรี
จองเลยวันนี้ ราคารวมรถ VIP+ไกด์
อาหาร 2 มื้อ จอง 6 ท่านขึ้นไป / คนละ 1200 บาท
วันเดียวเที่ยวครบกับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบที่จังหวัดลพบุรี
เที่ยวเมืองเก่าลพบุรี วัดพระศรีมหาธาตุ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
บ้านวิชาเยนทร์ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด ทุ่งทานตะวัน
หรือ ทุ่งดอกไม้ที่กระเพราะคอฟฟี่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำตกวังก้านเหลือง
เว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ จังหวัดลพบุรี
ลพบุรี.org
Lopburi Travel Guide - Everything You Need to Know About Lopburi
วัดพุน้อย
ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
วัดพุน้อย ต.ชอนม่วง อ.บ้านหมี่ เป็นวัดประเภทวัดราษฎร์ มีประวัติความเป็นมายาวนานมาก จุดเด่นที่สำคัญและน่าสนใจ คือ พิพิธภัณฑ์เรือ การสร้างเรือ และการยกเรือเพื่อถวายแก่แม่ตะเคียนทอง โดยเฉพาะในเรื่องการค้าขาย และเมตตามหานิยม ที่หลวงปู่แบนได้สร้างเรือ พุทธคุณขึ้นมา เมื่อหลวงปู่แบนได้มรณภาพลง ต่อมาพระครูประภัทรธรรมทิน เจ้าอาวาสวัดพุน้อย ได้สานต่อวิชาคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่แบน คือการยกเรือ เพื่อถวายแก่แม่ตะเคียนทองซึ่งใครได้ไปบูชา นำมาประดับไว้ที่บ้าน หรือร้านค้า มีความเชื่อว่าจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว การค้าขายมีความเจริญรุ่งเรือง ชีวิตจะประสบผลสำเร็จกันแทบทุกคน
ติดต่อพื้นที่โฆษณา
ลูกค้าจะเห็นโฆษณาของคุณเมื่อมีผู้เข้าชม
สิ่งที่คุณนำเสนอบน watphunoi.com
พิเศษ โฆษณาสูงสุด ค่าใช้จ่ายเพียง
999 บาท ต่อเดือน
ติดต่อ 086-8103413
ติดต่อพื้นที่โฆษณา
ลูกค้าจะเห็นโฆษณาของคุณเมื่อมีผู้เข้าชม
สิ่งที่คุณนำเสนอบน watphunoi.com
พิเศษ โฆษณาสูงสุด ค่าใช้จ่ายเพียง
999 บาท ต่อเดือน
ติดต่อ 086-8103413
นอกจากนี้วัดพุน้อยยังมีศาสนสถานอื่นๆ ที่สำคัญ เป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาค้นคว้าเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น วิหาร เจดีย์ พระอุโบสถ และสิ่งอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้นจึงมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาที่วัดพุน้อยกันอย่างเนืองแน่นในแต่ละวัน ทำให้วัดพุน้อยมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันของคนทั่วไปทั่วทุกสารทิศ
วัดพุน้อย ตั้งอยู่ที่ หมุ่ 1 ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี แต่เดิม พุน้อยเป็นชื่อของ น้ำที่ผุดขึ้นมาคล้ายน้ำพุตลอดทั้งปี ไม่มีวันแห้ง จึงเป็นชื่อเรียกขานหมู่บ้านแห่งนี้ วันที่ 25 เมษายน พศ 2515 หมอเคลือบ และนาง บุญมา เหมือนเอี่ยม ได้มอบถวายที่ดิน จำนวน 6 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวา เพื่อสร้างวัดพุน้อย
หลวงพ่อชื้น บุญยกาโม นำชาวบ้านพุน้อยร่วมก่อสร้าง ได้ 4 พรรษา ท่านจึงมรณภาพ ต่อมาปี พศ.2519 หลวงปู่แบน จนฺทสโร มาอยู่จำพรรษา และได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก15 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา จนกระทั่งท่านได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2543 หลวงปู่แบน จนังทสโร ท่านเป็นเจ้าอาวาสนั้น ได้ร่วมกับชาวบ้านพุน้อยพัฒนาวัดจนเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้วัดที่ไม่มีคนรู้จัก กลายเป็นวัดที่มีคนเชื่อถือเลือมใสศรัทธาเดินทางมากราบไหว้กันอย่างไม่ขาดสาย เพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่ปี การเดินทางไปยังวัดพุน้อย มีถนนลาดยางถึงวัด สะดวกสบายตลอดการเดินทาง วัดพุน้อยก็มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุถายในวัดแทบจะครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆอีกจำนวนมาก
จากวัดเล็กๆที่ห่างไกลความเจริญ กลายเป็นวัดที่มีประชาชนรู้จักกันเกือบทั้งประเทศ มีการนำกฐินและผ้าป่าสามัคคี มาทอดกันอย่างล้นหลาม ตลอดจนการปฏิบัติธรรมปัจจุบัน พระครูสมุห์สุทิน สุทินนังโน เจ้าอาวาสวัดพุน้อย ท่านยังคงสืบสานวิชาอาคม ที่รับจากหลวงปู่แบน จนฺงทสโร ในเรื่องเมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการค้าขาย ที่หลวงปู่แบนได้สร้างเรือพุทธคุณขึ้นมา ซึ่งใครได้ไปบูชาจะประสบผลสำเร็จกันแทบทุกคน จึงมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาที่วัดพุน้อยกันอย่างเนืองแน่นในแต่ละวัน
วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2552 เวลา 15.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จไปทรงเป็นประธานทอดจุลกฐินสามัคคีโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ที่วัดพุน้อย ในการดำเนินการประกอบพิธีทำผ้าจุลกฐินซึ่งเป็นการทำผ้าไตรจีวรให้แล้ว เสร็จทันประกอบพิธีทอดกฐินสามัคคี โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ฯภายในวันเดียวนี้ วัดพุน้อยได้รับแรงศรัทธา ตลอดจนความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากประชาชนในอำเภอ บ้านหมี่และอำเภอต่างๆของจังหวัดลพบุรี รวมถึงพุทธศาสนิกชนจากจังหวัดใกล้เคียงและ ผู้ที่อยู่ห่างไกล หลั่งไหลมาร่วมในพิธีการทำผ้าจุลกฐินโดยเสด็จพระราชกุศลกันอย่าง เนืองแน่น ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดประเพณีจุลกฐินที่วัดพุน้อยต่อเนื่องเป็นปีที่ ๓ โดยชาวบ้าน และผู้มาร่วมงานต่างเริ่มช่วยกันเก็บฝ้ายตั้งแต่กลางวันวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคมและเริ่มดำเนินการหลังเวลา ๒๔.๐๐น.ตามขั้นตอนอิ้วฝ้าย ตีฝ้าย เข้าใจฝ้าย กรอหลอดฝ้าย เดิน เส้นด้าย ใส่กี่ เก็บตะกอ ทอเป็นผืน ตัดขันฝ้าย เย็บย้อมและซักรีดเป็นผ้าไตรจีวร จำนวน ๑ ชุด แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาบ่ายวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม
เศรษฐีเรือทอง พิธียกเรือแม่ตะเคียนวัดพุน้อย
VDO พิธียกเรือแม่ตะเคียนวัดพุน้อย
ติดต่อพื้นที่โฆษณา
ลูกค้าจะเห็นโฆษณาของคุณเมื่อมีผู้เข้าชม
สิ่งที่คุณนำเสนอบน watphunoi.com
พิเศษ โฆษณาสูงสุด ค่าใช้จ่ายเพียง
999 บาท ต่อเดือน
ติดต่อ 086-8103413
ติดต่อพื้นที่โฆษณา
ลูกค้าจะเห็นโฆษณาของคุณเมื่อมีผู้เข้าชม
สิ่งที่คุณนำเสนอบน watphunoi.com
พิเศษ โฆษณาสูงสุด ค่าใช้จ่ายเพียง
999 บาท ต่อเดือน
ติดต่อ 086-8103413
ราคาเรือ 1,000 / 5,000 / 10,000 / 30,000 บาท
เรือลำแรกที่ยก 1,000 บาท ครั้งแรกที่ยกเรือนำเงินใส่ในเรือ 1,200 บาท ถ้ายกขึ้นทางวัดนำเงินออก 1,000 บาทอีก 200 บาทใส่เรือกลับมาเป็นทุนแต่ถ้ายกเรือไม่ขึ้นคืนเงินทั้งหมด
มูลนิธิเศรษฐีเรือทอง
วัดพุน้อยชัยมงคล เดิมชื่อวัดพุน้อย คำว่า “พุน้อย” เป็นชื่อของน้ำพุที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน มีความหมายว่า การเกิดขึ้น ทำให้เกิดขึ้น พุขึ้น เจริญขึ้น ตั้งอยู่ เลขที่ ๑ บ้านพุน้อย ต.ชอนม่วง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี จากคำบอกเล่าของชาวบ้านผู้สูงอายุ วัดพุน้อยเริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ โดยหมอเคลือบ และนางบุญมา เหมือนเอี่ยม ได้มอบที่ดินถวายวัดพุน้อย
ต่อมาในปี ๒๕๑๙ ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงปู่แบน จนฺทสโร เดิมจำพรรษาอยู่วัดตาลเจ็ดช่อ ต.ย่านซื่อ อ.เมือง จ.อ่างทอง มาอยู่จำพรรษา และนำชาวบ้านพุน้อยก่อสร้างและปรับปรุงวัดตลอดมา และซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๘๐ ตารางวา ต่อมาพระครูประภัทรธรรมทิน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ซื้อที่ดินเพิ่มเติม ปัจจุบันวัดพุน้อยมีพื้นที่ของวัดจำนวน ๓๒ ไร่ ๔ งาน ๑๓๗ ตารางวา ซึ่งกรมที่ดินออกโฉนดเอกสารสิทธิครอบครองให้แก่วัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบันนี้พระครูประภัทรธรรมทินได้ก่อตั้งมูลนิธิเศรษฐีเรือทองไว้เพื่อช่วยเหลือสังคมก่อสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ในด้านต่างๆ และช่วยผู้ด้อยโอกาสอีกมากมาย ทั้งนี้ด้วยความที่ท่านเป็นพระนักพัฒนาและท่านยังได้เห็นและให้ความสำคัญในด้านการศึกษาของพระเณรและชุมชนชาว จ.ลพบุรี ท่านจึงเปิดหลักสูตร ปทศ. ซึ่งเป็นหลักสูตรเผยแผ่การเทศนาหรือปฐมเทศนา แต่ยังขาดทุนทรัพย์อีกเป็นจำนวนมาก
เหรียญรุ่น ปรกมงคลเศรษฐี
ในการออกแบบเหรียญรุ่นปรกมงคลเศรษฐี ได้รับความอนุเคราะห์จากนายยืนยง โอภากุล หรือแอ๊ด คาราบาว มาออกแบบศิลปะและพุทธศิลป์ของเหรียญรุ่น โดยได้นำพิมพ์พระของพระมเหศวร พระเครื่องยอดนิยมของ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีพุทธศิลป์เป็นพระทั้งสองด้านและจึงกำหนดพิมพ์ให้ด้านหน้าของเหรียญเป็นพิมพ์พระนาคปรกและด้านหลังของเหรียญเป็นพิมพ์พระนารายณ์ เนื่องด้วยแอ๊ด คาราบาว มีความหลงใหลและชื่นชอบในศิลปะในสมัยขอมเป็นพิเศษ
อีกทั้ง จ.ลพบุรี ก็มีความเกี่ยวข้องกับพระนารายณ์และศิลปะในยุคเก่าสมัยขอมและทวารวดี ซึ่งขุดพบใน จ.ลพบุรี มากมายตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แอ๊ด คาราบาว จึงนำศิลปะทั้งสองมารวมกันอย่างลงตัว สวยงามเรียกได้ว่าวัตถุมงคลรุ่นปรกมงคลเศรษฐี มีทั้งความงดงามทั้งแบบพุทธและแบบพราหมณ์ ดั่งสโลแกนที่ว่า พุทธค้ำ พราหมณ์คูณ หนุนมั่งมี เป็นเศรษฐีเรือทอง
แอ๊ด คาราบาว บอกว่า มีความศรัทธาในวัดพุน้อย หลวงปู่แบน จันทสาโร และศรัทธาในตัวพระครูประภัทรธรรมทิน เป็นทุนเดิม และมีโอกาสแวะเวียนมาเล่นคอนเสิร์ตที่วัดแห่งนี้อยู่เป็นประจำทุกปีจึงเกิดความสนิทสนมกับ พระครูประภัทรธรรมทิน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพุน้อยปัจจุบัน โดยก่อนหน้านี้ตน ก็ได้แต่งเพลงให้วัดพุน้อยมาแล้ว ๒ เพลง คือ เพลงหลวง ปู่แบนจันทสโร และเพลง เรือยาวแม่เศรษฐีเรือทอง เป็นต้น
วัตถุมงคลรุ่น ปรกมงคลเศรษฐี เปิดจองแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปและจะมีพิธีมหาพุทธาภิเษกในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๙ ตั้งแต่เวลา ๑๒.๐๐ น. เป็นต้นไป ที่อุโบสถวัดพุน้อย โดยได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม มาเป็นประธานจุดเทียนชัย
พระเกจิอาจารย์ร่วมนั่งอธิษฐานจิต ดังต่อไปนี้ หลวงพ่อเพิ่ม อตฺตทีโป วัดป้อมแก้ว ต.บ้านกลึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อพูน ฐิตสีโล เจ้าอาวาสวัดบ้านแพน ต.สามกอ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม วัดเกริ่นกฐิน ต.บ้านชี อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี หลวงพ่อสนองชาติ ฐิตฺจิตฺโต) วัดเย็นสนิทธรรมาราม ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข วัดประดู่ ต.วัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระอาจารย์ติ๋ว ฐิตวัฑฒโน วัดมณีชลขัณฑ์ ต.พรหมาสตร์ อ.เมือง จ.ลพบุรี และพระอาจารย์คำนวณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ ต.หัวลาด อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
มีลักษณะเป็นพระอุโบสถมหาอุต ภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีประตูทางเข้าออกทางเดียวกัน หน้าต่างเจาะช่อง ศิลปแบบอยุธยา มีมุขเด็จอยู่ด้านหน้า ที่รัชกาลที่ 4 โปรดให้ต่อออกมาและขยายพัทธสีมาให้ใหญ่กว่าเดิม พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะอู่ทอง จิตรกรรมฝาผนังเป็นลายรูปดอกไม้ที่มีความงดงามยิ่งนัก
ปัจจุบัน วัดพุน้อยนั้นได้เปิดทำพิธียกเรือทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันศุกร์กับวันจันทร์จะทำพิธีสำหรับผู้ที่จะเสริมเรือหรือเปลี่ยนลำใหม่ที่ใหญ่กว่าลำเดิมที่ได้ไปในครั้งแรก และขอย้ำว่าวัดพุน้อยไม่มีสาขาที่ไหนหรือที่ใดทั้งสิ้นให้ระวังพวกแอบอ้างเป็นสาขาของวัดพุน้อยอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด มายกเรือแม่ตะเคียนได้ที่วัดพุน้อยที่เดียวเท่านั้น
ภาพถ่าย วัดพุน้อย
แผนที่ วัดพุน้อย
การเดินทางไป วัดพุน้อย
จากตัวเมืองลพบุรี มุ่งหน้าไปทางอำเภอหนองม่วง ผ่านโรงพยาบาลหนองม่วง เจอสี่แยกเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอบ้านหมี่ (ทางหลวงหมายเลข 3326) ประมาณ 6 กิโลเมตร เลี้ยวขวา 3 กิโลเมตร
และเลี้ยวขวาอีก 3 กิโลเมตร จะเจอวัดพุน้อย (วัดพุน้อยชัยมงคล)
#งานทำบุญครอบรอบวันมรณะภาพหลวงปู่แบน จันทสโร จัดงานทุกวันที่ 13 มกราคม ของทุกปีและเสริมเรือครั้งใหญ่
#งานพิธีไหว้ครูวัดพุน้อย จัดงานในวันพฤหัสบดีแรกชองเดือนมีนาคมทุกปี
#สำหรับสมาชิกใหม่ที่ยังไม่ได้รับเรือมา ทางวัดเปิดรับบัตรคิวเวลา 16.30น.วันพฤหัสบดี
ยกเรือวันศุกร์ จองวันศุกร์ ยกเรือวันเสาร์ จองวันเสาร์ ยกเรือวันอาทิตย์
#พิธีเจิมรถ มีเฉพาะวันจันทร์วันเดียวเท่านั้น
แผนที่วัดพุน้อย ลพบุรี ข่าววัดพุน้อย ยกเรือวัดพุน้อย วัดพุน้อย เสริมเรือวันไหนบ้าง ปฏิทินเสริมเรือวัดพุน้อย
วิธีบูชาเรือแม่ตะเคียนทอง วัดพุน้อย ปฏิทินเสริมเรือวัดพุน้อย