top of page

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานหวายมหาสอน

ตำบลมหาสอนประชากรบ้านขอม ตำบลมหาสอน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบชนบท เรียบง่าย ประกอบอาชีพทำนา เมื่อว่างจากการทำนาจะรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมด้านงานจักสานซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและปัจจุบันก็ได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานที่มีความสนใจไว้เป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดีมีความสุข สังคมของบ้านขอมเป็นสังคมที่ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามแบบฉบับวิถีชีวิตของคนไทยในชนบท

ความเป็นมาของเครื่องจักสาน ตำบลมหาสอน

เครื่องจักสาน เป็นการงานช่างฝีมือพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เกิดขึ้นประมาณ ปี พ.ศ. 2495 โดย คือคุณป้าโถม ศรีวิฑรูย์ เป็นผู้ถ่ายทอดให้แก่ นางชะลอ ทนทองคำ เมื่อนางชลอ ทนทองคำ ได้รับการถ่ายทอดตั้งแต่สมัยเด็ก ก็ได้ฝึกการทำตะกร้าหวายจนมีความชำนาญ จึงได้ถ่ายทอดต่อให้กับลูก หลาน และผู้สนใจในหมู่บ้าน ต่อมาจึงร่วมกันคิดจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ขึ้น ชื่อกลุ่มจักสานตะกร้าหวายลายวิจิตร ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 15 หมู่ที่ 6 ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และนางชะลอ ทนทองคำ เป็นประธานกลุ่ม ผลิตผลงานเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปจนได้รับคัดสรรให้เป็นสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ระดับ 4 ดาว OTOP เมื่อปี พ.ศ ๒๕๔๖ และได้รับ ระดับ 5 ดาว เมื่อปี พ.ศ. 2549

 

วัสดุที่ใช้ในการผลิตผล
 

หวายหอม เป็นหวายลำเล็กๆ ผิวสวยสีขาว เหลืองนวลเป็นมัน

เนื้อในขาว ละเอียดเป็นหวายที่เหนียวจักเหลาเกลาได้ง่าย

ผิวริมนอกจักเจียนเป็นเส้น เหมาะสำหรับถักมัดผูก

กับเนื้อในเรียกว่าขี้หวายเจียนเป็นเส้นกลมใช้สานเป็นสิ่งของต่างๆ

ได้ และย้อมสีก็ได้

ประโยชน์
หวายลำต้นโตส่วนมากใช้ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ แบบต่างๆ

สำหรับที่มีขนาดลำต้นเล็กใช้จักเป็นตอกผลิตเป็นเครื่องใช้ต่างๆ

เช่น ตะกร้า กระเป๋า ถาดผลไม้ เครื่องตกแต่งภายในบ้าน

ปัจจุบันตะกร้าหวายเป็นสินค้าที่นิยมมาก เนื่องจากมีลักษณะเบาแข็งแรง

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานหวายมหาสอน ทำกระเป๋าและตะกร้า ที่ทำจากหวายและไม่ไผ่ เป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความแข็งแรว ทนทาน และมีความละเอียด เพราะทำจากมือทุกขั้นตอน

เมื่อว่างจากนา จะรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมด้านงานจักสานซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และปัจจุบันก็ได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานที่มีความสนใจไว้เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัวมีความเป็นอยู่ดีมีความสุข เป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามแบบฉบับวิถีชีวิตของคนไทยในชนบท
 
"