top of page
ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี
ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เป็นที่ประดิษฐาน เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณยุคขอมเรืองอำนาจ เป็นโบราณสถานและศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางวงเวียนชื่อ วงเวียนศรีสุนทร บนถนนนารายณ์มหาราช ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอดและเส้นทางรถไฟสายเหนือ
ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี
ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี
ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี

      ย้อนไปเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2450ขอม ได้ตั้งพระนครที่เมืองยโสธรปุระ ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่าเมืองนคร ต่อมาได้แผ่อำนาจเข้ามาครอบครองเมืองละโว้ หรือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน และได้เกณ์ไพร่พลมาสร้างปูชนียสถานแบบขอบขึ้นมาหลายแห่ง เช่นเทวสถานปรางค์แขกศาลพระกาฬ ปรางค์ใหญ่ ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และพระปรางค์สามยอดเป็นต้น โบราณสถาน และวัตถุแบบขอมที่สร้างขึ้นในครั้งนั้น รวมทั้งพระพุทธรูป และพระพิมพ์แบบต่างๆ ซึ่งจัดเป็นศิลปะแบบลพบุรี ยังคงคงหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมาก

       ในขณะนั้นชนชาติไทยได้อพยพ ลงมาจากทางภาคเหนือ และเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางแถบนี้กันบ้างแล้ว ประมาณปีพ.ศ.1800 พ่อขุนศรีอนทราทิตย์ กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงค์พระร่วง ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง ได้รวบรวมพลต่อสูกับขอม และรวบรวมชาติไทย ตั้งขึ้นเป็นเอกราช มีราชธานีอยู่ที่กรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่1(พระเจ้าอู่ทอง)ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็น ราชธานี และเสด็จขึ้นครองราชในพ.ศ.1893แล้วนั้น ทรงโปรดเกล้าให้พระราเมศวรราชโอรส ทรงครองเมืองลพบุรี เพราะเหตุว่าเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญต่อสุโขทัย

        ครั้นสมเด็จพระรามาธิบดีที่1เสด็จสวรรคตในพ.ศ. 1912สมเด็จพระราเมศวรเสด็จไปครองราชสมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยา แต่แล้วก็ต้อองสละราชสมบัติแด่สมเด็จพระราชาธิราชที่1(ขุนหลวงพระงั่ว) พระปิตุลา แล้วกลับมาครองเมืองลพบุรีต่อตลอดรัชการนั้น รวมเป็นเวลาที่ประทับอยู่ที่ลพบุรีนานถึง38ปี

       เมื่อกรุงศรีอยุธยากับกรุงสุโขทัยเป็นอณาจักรเดียวกันแล้ว เมืองลพบุรีก็มีความสำคัญน้อยลง ไม่ปรากฏว่ามีเจ้านายพระองค์ใดจากกรุงศรีอยุธยาเสด็จขึ้นมาครองเมืองลพบุรี คงมีแต่ป้อมปราการ ไว้เป็นเมืองหน้าด่าน ป้องกันศัตรูที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาจากทางเหนือเเท่านั้น

      ต่อมาในรัชการของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ก็ทรง มอบพระราชสมบัติแด่พระมหินทราธิราช ในพ.ศ.2095เพื่อทรงผนวช แต่ก่อนจะทรงผนวชก็ทรงมาพักที่ลพบุรีนี้

      ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2199-2231ทรง โปรดเกล้าให้ตั้งเมืองลพบุรีขึ้นใหม่ ให้ใช้เป็นราชธานีสำรอง โดยให้ช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบให้ สถาปัตยกรรมในลพบุรีในสมัยของพระองค์ จึงเป็นแบบไทยปนตะวันตก เช่นพระราชวังบ้านหลวงรับราชทูต วัดสันเปาโลฯลฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชชอบที่จะประทับที่ลพบุรี โโยจะประทับที่ลพบุรีราวๆปีล่ะแปดเก้าเดือน แต่พักที่อยุธยาปีละสามถึงสี่เดือนเท่านั้น

      เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สวรรคต ในพ.ศ.2231สมเด็จพระเพทราชา ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกครั้งแรกที่ราชวังเมืองลพบุรี หลังจากนั้นมาพระราชวังเมืองลพบุรีก็ถูกปล่อยทิ้งอยู่มาเป็นเวลานานจน พ.ศ.2277และพ.ศ.2297สมเด็จพระบรมโกศเสด็จขึ้นมาจับช้างเถื่อนที่เมืองลพบุรี ก็มาประทับที่ราชวังที่ลพบุรีนี้ด้วย

      ต่อมาราชวังขาดการบูรณะมาจวบจนถึงสมัยของรัชการที่4แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้เป็นราชธานีสำรองอีกครั้ง จึงโปรดเกล้าให้ปฎิสังขรณ์ และซ่อมแซม พระราชวังของพระนารายณ์มหาราชขึ้นมาใหม่ โดยให้สร้างพระที่นั่งและตำหนักน้อยใหญ่ไว้เป็นที่ประทับ โดยพระราชทานนามว่า พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ดังที่เราได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เมื่อทราบความเป็นมาของเมืองลพบุรีกันมาพอเป็นสังเขปแล้ว

 

 

 

ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ

     

 

 

 

 

ศาลพระกาฬนับเป็นสิ่งคู่บ้าน คู่เมืองของลพบุรี เพราะส้างกันมานานมากตั้งแต่สมัยขอม ครองเมืองลพบุรี สร้างด้วยศิลาแลงซ้อนกันเป็นศาลสูงจึงมักเรียกกันมาแต่ก่อน ว่าศาลสูง มีอายุราวๆศตวรรษที่16

      ที่ศาลพระการนี้ได้พบหลักศิลาจารึก แปดเหลี่ยม จารึกเป็นอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านหน้าเป็นศาล ที่สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2495 โดยสร้างเหนือฐานเดิม ภายในวิหารประดิษฐาน เทวรูปพระนารายณ์ ทรงประทับยืน ทำด้วยศิลาสององค์ องค์ใหญ่พระเศียรเดิมชำรุด ต่อมาท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ในสมัยนั้นได้นำามปฎิสังขรณ์ โดยให้นำพระเศียรของพระพุทธรูป ศิลาทราย สมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป

     ศาลพระกาฬ เป็นที่อยู่ของฝูงลิงฝูงหนึ่ง ที่อยู่คู่กันกับศาลนี้มานาน จนชาวบ้านเชื่อกันว่ามันเป็นศิษย์ของเจ้าพ่อพระกาฬ ลิงฝูงนี้จึงเป็นที่รู้จักของประชาชนในแถบนั้น ที่มักแบ่งปันอาหารเลี้ยงดูพวกลิงฝูงนี้กันอยู่เสมอๆ บริเวณรอบๆ สศาลพระกาฬนี้ มีโบราณสถานที่สำคัญหลายๆแห่งคือ ฐานปรางค์สูง ที่ตั้งอยู่ที่ด้านหลังของศาลพระกาฬ ปัจจุบันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ย่อมุม ก่อด้วยศิลาแลงเหลือแต่ฐานชั้นสูง มีบรรไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ส่วนองค์ปรางค์หักหมดแล้ว ปรางค์องค์นี้ฝังเข็มปรางค์โดดที่มีมุขยื่นออกมา

 ศาล คือศาลที่สร้างขึ้นใหม่บนฐานปรางค์ ก่อด้วยอิฐ ภายในมีทับหลัง ที่สร้างเป็นพระนารายณ์บรรทมสินธุ เป็นศิลปะที่มีอายุยืนยาว ราวๆพุทธศตวรรษที่17

     ศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ตรงด้านหน้าสุด สร้างขึ้นในพ.ศ. 2496สร้างขึ้นบนฐานเดิม สร้างขึ้นในสมัยพระนารายณ์มหาราช ภายในมีปฎิมากรรมรูปคน อาจเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เศียรที่เห็นในปัจจุบันเป็นเศียรพระพุทธรูปหินทราย สมัยอยุธยา ได้รับการขนานนามจนปัจจุบันว่า เจ้าพ่อศาลพระกาฬ

     ลักษณะ ของเจ้าพ่อพระกาฬในปัจจุบัน ท่านมีเพียงแขนเดียว เรื่องนี้จากการบอกเล่าว่ากันว่า เดิมที่นั้นเจ้าพ่อพระกาฬทท่านมีสี่แขน หรือสี่กร แต่เมื่อเกิดสงครามกับพม่า จึงถูกทำลาย หักพังไป จนเหลือเพียงแขนข้างเดียว ต่อมามีผู้ที่มีโชคลาภจากเจ้าพ่อพระกาฬ ซึ่งเป็นชาวกรุงเทพฯได้มาสร้างแขนให้ท่านใหม่ ให้มีครบสี่กร แต่ด้วยเหตุผลใด ก็สุดจะเดาได้ อยู่ดีๆแขนมี่สร้างขึ้นมาใหม่ก็หลุดทั้งสามแขน คงเหลือเพียงแขนข้างเดียวเช่นเดิม จึงมีผู้สันนิษฐานว่าเจ้าพ่อพระกาฬท่านคงจะไม่ชอบแขนที่สร้างขึ้นใหม่ และต้องการให้เป็นที่ระลึกถึงความโหดเหี้ยมของสงคราม

ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี
ลิงศาลเจ้าพระกาฬ
ลิงศาลเจ้าพระกาฬ

ลิงศาลพระกาฬหรือลิงเจ้าพ่อ หรือลิงลพบุรี เป็นกลุ่มลิงที่อยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ   500 ตัว ลิงเหล่านี้ได้มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ                                                                

     1. ลิงกลุ่มใหญ่เป็นลิงประจำศาลพระกาฬที่มีชีวิตและกิจกรรมในช่วงเวลากลางวันคอยต้อนรับผู้   มาเยือน อยู่ในบริเวณศาลพระกาฬ   และใช้เวลาช่วงเช้าและเย็นอยู่ในพื้นที่บริเวณเทวสถานปรางค์สามยอดและพื้นที่มุมสนามของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย   ในยามค่ำจะพากันรวมฝูงกลับมานอนที่ศาลพระกาฬ   ลิงกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี   มีผู้เลี้ยงดูและมีผู้นำอาหารมาเลี้ยงเพื่อเป็นการเซ่นไหว้   แก้บนตามความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อศาลพระกาฬอยู่เสมอ   ชาวบ้านจะเรียกลิงกลุ่มนี้ว่า " ลิงเจ้าพ่อ " หรือ " ลิงศาลพระกาฬ " ลิงเหล่านี้   จะมีผู้นำฝูงซึ่งเป็นลิงที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับในฝูง             
                                                       
     2. ลิงกลุ่มเล็กๆอีกกลุ่มหนึ่งแตกหลงฝูงออกไปและไม่ได้รับการยอมรับกลับเข้าฝูง   จะมีชีวิตเร่ร่อนอยู่บริเวณนอกศาล ตามทางเท้าหรือชายคาร้านค้า   บ้านเรือนในเขตชุมชนเมืองลพบุรี   เป็นกลุ่มลิงที่สร้างปัญหาความเสียหายและความเดือดร้อนให้กับผู้อยู่อาศัย   และผู้สัญจรไปมา บางคนเรียกลิงกลุ่มนี้ว่าลิงนอกศาล ลิงตลาด หรือลิงจรจัด

bottom of page