LOPBURI FULL DAY TOUR
วันเดียวเที่ยวครบลพบุรี
จองเลยวันนี้ ราคารวมรถ VIP+ไกด์
อาหาร 2 มื้อ จอง 6 ท่านขึ้นไป / คนละ 1200 บาท
วันเดียวเที่ยวครบกับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบที่จังหวัดลพบุรี
เที่ยวเมืองเก่าลพบุรี วัดพระศรีมหาธาตุ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
บ้านวิชาเยนทร์ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด ทุ่งทานตะวัน
หรือ ทุ่งดอกไม้ที่กระเพราะคอฟฟี่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำตกวังก้านเหลือง
เว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ จังหวัดลพบุรี
ลพบุรี.org
Lopburi Travel Guide - Everything You Need to Know About Lopburi
วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล)
จังหวัดลพบุรี
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี
สนับสนุนข้อมูล
วัดเวฬุวัน ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑ หมู่ ๗ ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อยู่ในหุบเขาจีนแล มีเนื้อที่โดยพฤตนัยประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร เนื้อที่โดยนิตินัย ๖๔ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตั้งอยู่หุบเขาจีนแลในท้องที่ ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีประมาณ 18 กิโลเมตร การคมนาคมสะดวกทั้งปี อยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก แต่เดิมบริเวณวัดนี้เป็นป่าทึบเต็มไปด้วยป่าไผ่ หลวงพ่อลี (พระครูอุบาลี ธรรมาจารย์)
ได้เดินธุดงค์มาถึงที่นี่ เห็นภูมิประเทศเหมาะสมดี จึงหยุดยั้งอยู่และตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น วัดเขาจียแลนี้เป็น สถานที่สงบร่มรื่นธรรมชาติสวยงามเพราะตั้งอยู่กลางหุบเขา ภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ด้าน พระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปใหญ่ ที่หลวงพ่อลีสร้าง และพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสร้างถวายซึ่งประดิษฐานอยู่บนยอดเขา ที่วัด แห่งนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการไปเที่ยวพักผ่อนชมธรรมชาติหรือไปแสวงบุญ มีโบสถ์รูปร่างแปลกสวยงามสำหรับให้บำเพ็ญธรรม มีสำนักชีคอยบริการให้ความสะดวกแก่ผู้ไปเที่ยวและไปทำบุญและยังมีหอสมุดของวัดซึ่งมีหนังสือธรรมะต่าง ๆ มากมายไว้บริการวัดเขาจีนแลเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ สถานที่ร่มรื่น มีภูเขาล้อมรอบสี่ด้าน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปใหญ่ที่หลวงพ่อลีสร้าง และพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสร้างประดิษฐานอยู่บนยอดเขา มีโบสถ์รูปทรงแปลก จั่วเป็นซุ้มกุทุแบบอินเดีย รวมถึงหอสมุดและสำนักชี
ประวัติวัด
วัดเวฬุวัน ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑ หมู่ ๗ ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อยู่ในหุบเขาจีนแล มีเนื้อที่โดยพฤตนัยประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร เนื้อที่โดยนิตินัย ๖๔ ไร่ ๓๘ ตารางวา
อาณาเขต
ทิศเหนือ จรดเขาสะอางค์
ทิศตะวันออก จรดเขาจีนแล
ทิศตะวันตก จรดเขาหนอกวัว
ทิศใต้ จรดที่ราชพัสดุของศูนย์สงครามพิเศษ
วัดเวฬุวันเป็นสถานที่สงบวิเวก เหมาะสมกับการปฏิบัติธรรมภาวนาอย่างยิ่งมีป่าไม้ปกคลุมร่มเย็นสดชื่น ร่มรื่น เหมาะกับผู้รักและใฝ่ในธรรมที่จะไปแสวงหาความสงบผ่อนคลายจิตที่เคร่งเครียดให้เกิดความสุข
การได้มาของที่ดิน
ขออนุมัติจากกระทรวงกลาโหม แยกจากที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง แปลงหมายเลขทะเบียน ๓๙๕๙๒
ชื่อวัด
วัดเวฬุวันนั้น แต่เดิมเมื่อเป็นสำนักสงฆ์ ชาวเมืองลพบุรีเรียกว่า “ วัดเขาจีนแล ” เพราะตั้งอยู่บนหุบเขาจีนแล เมื่อสร้างวัดเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมา พร้อมทั้งขอตั้งนามวัดว่า “ วัดเวฬุวัน ” นามวัดนี้สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฐายีมหาเถระ) วัดมกุฎกษัตริยารามได้ทรงแนะนำไว้เมื่อครั้งเสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ในการสร้างพระพุทธธรรมรังสีมุนีนาถศาสดา ทางราชการจึงได้สถาปนานามวัดว่า “ วัดเวฬุวัน ” ตามที่คณะกรรมการเสนอขอตั้งไป
ประเภทวัด
วัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) เป็นวัดชั้นสามัญ “ วัดราษฎร์ ” เพราะเป็นวัดที่ราษฎรจัดสร้างขึ้น
เขตวิสุงคามสีมา
วัดเวฬุวันมีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร วัดรอบพระอุโบสถทั้ง ๔ ทิศ
การปักเขตวิสุงคามสีมา
วัดเวฬุวันได้ดำเนินการปักเขตวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๒๘ โดยการประสานงานของนายศิลา เนตรวงศ์ ตามบัญชาของท่านพระครูภาวนานุโยค เจ้าอาวาสให้ไปเชิญศึกษาธิการอำเภอเมืองลพบุรีในฐานะตัวแทนกรมการศาสนาให้มาร่วมพิจารณาปักเขต การปักเขตในวันนั้นมีกรรมการ ๓ ท่าน คือ
๑.ท่านพระครูภาวนุโยค เจ้าอาวาส เป็นประธานกรรมการ
๒.นายสุพิณ นาคศิริ ศึกษาธิการอำเภอเมืองลพบุรี เป็นกรรมการ
๓.นายศิลา เนตรวงศ์ ข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข,ไวยาวัจกร เป็นกรรมการ
เมื่อคณะกรรมการทั้ง๓พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการวัดและปักเขตวิสุงคามสีมาถูกต้องเรียบร้อยแล้วก็ได้ลงนามไว้ในด้านหลังหนังสือสำคัญ พระราชทานวิสุงคามสีมา แล้วนำหนังสือสำคัญฉบับนั้นเข้ากรอบเรียบร้อยนำไปแขวนไว้ ณ ผนังอุโบสถด้านใน ทางทิศเหนือตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
ผู้ค้นพบสถานที่และผู้บุกเบิกสร้างวัดคนแรก
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๖ แม่อินทร์ ศิริมงคล ซึ่งขณะนั้นอายุประมาณ ๔๕ ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดลพบุรีมีสามีชื่อ แซ ศิริมงคล ทำมาหากินในการขายผ้าและทอง ในปีดังกล่าว แม่อินทร์ไม่ค่อยสบาย กล่าวคือ เจ็บบริเวณหน้าอกและเป็นมากขึ้น รักษาเยียวยาอย่างไรก็ไม่ทุเลา วันหนึ่งในปีนั้นแม่อินทร์ได้ไปวัดมณีชลขันธ์อย่างปกติที่เคยปฏิบัติมา ได้พบพระอาจารย์ประทุมก็ได้เล่าเรื่องการเจ็บป่วยดังกล่าวให้ท่านฟัง พระอาจารย์ประทุมได้แนะนำว่า ให้ไปพบท่านพ่อลี ไปทำสมาธิกับท่านอาจจะหาย ท่านพ่อลีมีนามเต็มว่า พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภี เมธาจารย์) เจ้าอาวาสวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ สมัยนั้นท่านพ่อลีอยู่ที่วัดป่าคลองกุ้ง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านพ่อลีเป็นผู้สร้างไว้ แม่อินทร์จึงได้ไปพบท่านพ่อลีที่ วัดป่าคลองกุ้ง จังหวัดจันทบุรี เพื่อขอรักษาโรคที่เป็นอยู่ เพียงเอ่ยปากเท่านั้น ท่านพ่อลีก็สามารถทำให้แม่อินทร์ ต้องตะลึงไป เพราะท่านสามารถบอกอาชีพแม่อินทร์ได้ว่ามีอาชีพอะไร ท่านพ่อลีกล่าวว่า อาชีพขายผ้าและทองนี้ก็ดีอยู่แล้วและก็เข้ากับลักษณะของแม่อินทร์ เพราะแม่อินทร์เป็นผู้ที่สนใจธรรมะ การค้าขายของดังกล่าวเหล่านี้เป็นของไม่บาป ท่านพ่อลีบอกว่า บุญก็บีบคั้นอยู่แล้วทำไมจะต้องไปค้าไปขายอะไรอีก แม่อินทร์พอใจท่านพ่อลีมาก
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แม่อินทร์ก็ติดสอยห้อยตามท่านไปทุกหนทุกแห่ง แต่ก็ยังไม่ได้บวชเป็นชี ยังคงเป็นฆราวาสอยู่อย่างนั้น ส่วนสามีของแม่อินทร์ก็คงทำการค้าขายต่อไปอยู่อย่างเดิม ในระหว่างนั้นแม่อินทร์ได้รับรสของธรรมะมากขึ้นตามลำดับ จนมีความสามารถที่จะนั่งสมาธิและขจัดโรคร้ายลงไปจนเกือบหมดสิ้น ครั้งสุดท้ายแม่อินทร์ได้กล่าวของให้ท่านพ่อลีได้ช่วยรักษาเศษโรคร้ายที่เหลืออยู่ประมาณแค่หัวแม่มือให้หมดสิ้นไป แต่ท่านพ่อลีไม่ได้ให้ยารักษาโดยตรง กล่าวคือท่านพ่อลีขากเอาเสลดให้แม่อินทร์แทนยาที่แม่อินทร์ขอ ทราบว่าแม่อินทร์ก็สามารถรับประทานเสลดของท่านพ่อลีเข้าไปได้ และยังกล่าวอีกว่า มันๆดี และโรคร้ายของแม่อินทร์ก็หายโดยเด็ดขาด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาความเลื่อมใสที่แม่อินทร์มีต่อท่านพ่อลีเป็นอันไม่สามารถคณานับได้
ต่อมาท่านพ่อลี ได้ไปสร้างวัดอโศการามที่จังหวัดสมุทรปราการ แม่อินทร์ก็ได้ติดตามไปช่วยท่านสร้าง แต่แม่อินทร์ก็ยังไม่ได้บวชเป็นชี คืนวันหนึ่งแม่อินทร์ได้นิมิตไปเห็นสถานที่แห่งหนึ่ง บริเวณนั้นล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นสถานที่วิเวกรู้สึกอิ่มเอมต่อสถานที่ในนิมิต ยิ่งกว่านั้นยังเห็นพระธุดงค์ปักกลดสีขาวดารดาษเต็มไปหมดในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว จึงได้นำเอานิมิตดังกล่าวไปเล่าให้ท่านพ่อลีฟัง ท่านพ่อลีก็เลยพาแม่อินทร์ไปร่วมในการทอดผ้าป่าที่วัดนิคมสามัคคีชัย บ่อ ๖ ณ ที่นั้น ท่านพ่อลีได้พบกับมหาวิทูรย์ บุญเฉลียว จึงออกปากถามว่าบริเวณแถวนี้มีสถานที่ใดบ้างที่เป็นวิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา มหาวิทูรย์ก็ได้พาท่านพ่อลีและแม่อินทร์มาที่บริเวณวัดเวฬุวันปัจจุบันนี้ ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นป่าดงดิบ แม่อินทร์พอเห็นพื้นที่ดังกล่าวนี้ ก็รู้สึกทันทีว่าตรงกับที่ได้นิมิตไว้ จึงได้เรียนให้ท่านพ่อลีทราบ ทั้งท่านพ่อลีและแม่อินทร์ได้มานั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่นี่เป็นเวลา ๓ วัน แล้วท่านพ่อลีก็กลับวัดอโศการาม ส่วนแม่อินทร์ไม่กลับเพราะท่านพ่อลีได้กล่าวว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นเรื่องของแม่อินทร์แล้ว แม่อินทร์มีจิตปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสร้างวัด จึงไม่กลับไปกับท่านพ่อลีและงานสร้างวัดของแม่อินทร์ก็เริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้น โดยตัวของแม่อินทร์แต่เพียงผู้เดียวแท้ๆ โดยกลับไปนอนพักข้างล่างเขาบริเวณทางขึ้นมาสู่วัดนี้ในเวลากลางคืนและกลับมาทำการถากถางพื้นที่เพื่อให้เป็นไปตามที่ได้ตั้งใจไว้ในเวลากลางวัน ซึ่งขณะนั้นบริเวณนี้เป็นป่าดงดิบ มีเสือด้วยแต่แม่อินทร์สามารถที่จะมาปฏิบัติธรรมได้โดยไม่มีภัยอันตรายใดๆมารังควานเลย
ระหว่างนั้นได้มีหลานสาวคนหนึ่งของแม่อินทร์ชื่อ บำรุง อายุตอนนั้นประมาณ ๑๓-๑๔ ปี ได้ฝันเห็นแม่อินทร์ซึ่งมีศักดิ์เป็นป้ากำลังสร้างวิมานเป็นทองทั้งหลังแต่ยังไม่เสร็จ เมื่อตื่นเช้ามาก็มีจิตคิดอยากจะมาอยู่กับป้าอย่างที่สุด ได้ไปขอพ่อแม่ก็ไม่ได้รับอนุญาต จึงนำเอากล้วยน้ำว้าไปขายได้กำไร ๘ บาท พอเป็นโสหุ้ย พาตัวเองมาพบแม่อินทร์ได้ และเลยมาอยู่ช่วยแม่อินทร์สร้างวัด ในระหว่างนี้นายแซ ผู้เป็นสามีของแม่อินทร์ซึ่งยังทำการค้าขายอยู่เป็นปกติ ได้เป็นผู้ส่งอาหารให้แม่อินทร์และบำรุง แล้วก็เลยได้บวชเป็นพระและชีหมด และทราบว่าทุกคนได้บำเพ็ญจนได้สมาธิหมด ตลอดเวลาที่แม่อินทร์ได้แยกจากท่านพ่อลี มาอยู่ที่วัดเวฬุวันนี้ ท่านพ่อลีได้มาเยี่ยมอยู่เสมอ ปีละ สอง-สามครั้งมิได้ขาด
จะเห็นได้ว่า ความศรัทธาสามารถทำให้บุคคลทั้งสามค่อยๆ ช่วยเหลือกันถากถางป่าดงดิบ จะทำให้เป็นวัดให้ได้ อยู่มาวันหนึ่งได้มีนายทหารผู้หนึ่ง ซึ่งตอนนั้นมียศร้อยเอก ชื่อ ร้อยเอกธรรมจักร สังกัดศูนย์การทหารราบลพบุรี ได้พาทหารมาฝึกใกล้ๆ กับบริเวณที่แม่ชีลูกอินทร์ถากถางพื้นที่อยู่ ได้ถามแม่ชีลูกอินทร์ว่า จะถากถางทำอะไร แม่ชีลูกอินทร์ก็ตอบว่า จะสร้างวัด ผู้กองธรรมจักรก็บอกว่าจะสำเร็จได้อย่างไรและก็กลับไป ต่อมาอีกประมาณหนึ่งอาทิตย์ ผู้กองธรรมจักรก็กลับมาอีก ทีนี้เอาทหารและนายสิบมาด้วย ประมาณ ๔๐-๕๐ นาย ได้แบ่งกำลังออกถากถางพื้นที่ ซึ่งแม่ชีลูกอินทร์ได้กำหนดว่าตรงไหนจะสร้างวิหาร ตรงไหนจะสร้างโรงครัว ที่พักและตรงไหนจะสร้างกุฏิ มิใช่แค่เท่านี้ ผู้กองธรรมจักรยังได้เอาข้าวสารบรรทุกเกวียนมาให้ เวลาน้ำหมดก็เอาน้ำมาให้โดยใช้เกวียนบรรทุกขึ้นมาเพราะสมัยนั้นรถขึ้นไปไม่ได้
เมื่อแม่ชีลูกอินทร์ได้สร้างวิหารเกือบเสร็จ ก็ได้นิมิตไปว่า เมื่อมีวิหารก็ควรจะต้องมีพระพุทธรูป ก็คิดว่าจะได้พระพุทธรูปจากที่ไหนมา ปรากฏว่าหลังจากที่นิมิตและเกิดความคิดอยากได้พระพุทธรูปมาประดิษฐานได้เพียง ๓ วัน ก็มีแม่บุทันซึ่งมีบ้านอยู่บริเวณบ่อแปด เอาข่าวเรื่องพระพุทธรูปไปบอกสามี สามีแม่บุญทันไปได้เศียรพระมาจากถ้ำพระบาท มีแต่เศียรเก็บไว้ในบ้าน เด็กๆก็กลัวมีคนมาขอซื้อแต่ก็ไม่ได้ขาย ต่อมาไม่กี่วันทั้งแม่บุญทันและสามีก็ได้นำเอาเศียรพระพุทธรูปมาถวายไว้ให้ เมื่อแม่ชีลูกอินทร์ได้รับเศียรพระมาแล้วก็ไม่ทราบว่าจะต่อให้เป็นพระปางอะไรดี จึงได้ไปขอความเห็นจากท่านพ่อลี แต่ท่านพ่อลีกลับบอกว่า ให้แม่ชีลูกอินทร์ใช้ปัญญาเอาเอง แม่ชีลูกอินทร์ได้สร้างต่อให้เป็นพระปางไสยาสน์และเนื่องจากได้มาตามที่ได้นึกไว้ จึงเรียกพระทั้งองค์นี้ว่า “ หลวงพ่อสมนึก ” ขณะนี้ยังคงอยู่ในวิหารน้อยนั้น
วัดเขาจีนแล โทรศัพท์ 036-652404