LOPBURI FULL DAY TOUR
วันเดียวเที่ยวครบลพบุรี
จองเลยวันนี้ ราคารวมรถ VIP+ไกด์
อาหาร 2 มื้อ จอง 6 ท่านขึ้นไป / คนละ 1200 บาท
วันเดียวเที่ยวครบกับการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบที่จังหวัดลพบุรี
เที่ยวเมืองเก่าลพบุรี วัดพระศรีมหาธาตุ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
บ้านวิชาเยนทร์ ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด ทุ่งทานตะวัน
หรือ ทุ่งดอกไม้ที่กระเพราะคอฟฟี่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำตกวังก้านเหลือง
เว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ จังหวัดลพบุรี
ลพบุรี.org
Lopburi Travel Guide - Everything You Need to Know About Lopburi
การเลี้ยงปลาในกระชัง
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีความนิยมบริโภคเนื้อปลาทับทิมเพื่อมขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ หันมาเพาะเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่ม
บริเวณบ้านญวณ มีการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง ที่นี่มีปลาสด ๆ
จำหน่ายหรือจะทำเมนูปลาทับทิมทานบนแพก็ได้
แม่น้ำบางขาม เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ มีความยาวเพียง 20 กิโลเมตร ไหลผ่านทางทิศตะวันตก ของเขตตำบลบ้านชี ผ่านตำบลบางขาม ตำบลบ้านผึ่ง ตำบลมหาสอน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากคลอง ในเขตอำเภอบ้านหมี่ ไหลไปรวมกับแม่น้ำลพบุรี ในเขตอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
สายน้ำแห่งชีวิต
บางขาม
ลุ่มแม่น้ำบางขาม ลพบุรี
เป็นสายน้ำแห่งวิถีชีวิตของผู้คนซึ่งนักโบราณคดีเชือว่า เดิมชุมชนแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศักราช 1100- 1600 เป็นแหล่งอารยธรรมของมอญอาศัยอยู่ชื่อว่า "เมืองราม"
เมื่ออิทธิพลขอมเรืองอำนาจ
และอาณาจักรทวารวดีล่มสลายลง และต่อมาชนเผ่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผู้คนจาก จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี ได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำบางขามและเนื่องจากริมแม่น้ำดังกล่าวมีต้นไผ่ซึ่งชาวบ้านปลูกไว้เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน และป้องกันลมจากชายน้ำ และมีจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่าเป็น บ้านวังไผ่ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่บริเวณหมู่ที่ 4 ตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
ลุ่มแม่น้ำบางขาม ประกอบด้วย ต.มหาสอน ต.บางพึ่ง ต.บ้านชี ต.บางขาม อ.บ้านหมี่ และต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ซึ่งวิถีชีวิตเดิมมีความผูกพันกับสายน้ำใช้เป็นเส้นทาง สัญจร ค้าขาย โดยเฉพาะบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำนาตลอดปีโดยอาศัยแหล่งน้ำจากแม่น้ำบางขาม ในปี พ.ศ. 2546 จังหวัดลพบุรี ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้ร่วมกันอนุรักษ์คุณภาพของน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดการทำลายทรัพยากร โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ได้ร่วมกันขุดลอกและกำจัดผักตบชวาและดำเนินการจัดทำประตูสำหรับการระบายน้ำแม่น้ำบางขาม วึ่งทำให้ประชาชนในเขตลุ่มน้ำบางขามได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ แยงทำให้วิถีชีวิตผู้คนลุ่มน้ำบางขาม กลับฟื้นคืนมา
แม่น้ำบางขาม เป็นแม่น้ำสายสั้นระยะทางเพียง 25 กิโลเมตร เกิดจากการรวมตัวของน้ำตามทุ่งนา คู คลอง ต่างๆ ไหลมารวมกับที่โค้งท่าเรืออำเภอบ้านหมี่ หลังจากนั้นก็ไหลไปสู่ทุ่งท่าวุ้ง ทำให้พื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่านมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดเส้นทาง
ปลาทับทิม
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยง เนื่องจากเป็นปลาที่มีสีสัน และให้เนื้อค่อนข้างมาก และมีรสชาติเหมือนปลานิล การเลี้ยงง่าย อัตราการเติบโตสูง ราคาในตลาดค่อนข้างคงที่ และมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในร้านอาหาร และตามโรงแรมหรือภัตราคาร
ประวัติปลาทับทิม
ปลาทับทิม (Nile tiapia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus-mossambicus เป็นปลาที่พัฒนามาจากสายพันธุ์ปลานิล นำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ทรงจัดส่งปลานิล จำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ย ตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักต่อตัวประมาณ 14 กรัม เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อใหม่ว่า “ปลานิลจิตรลดา” และเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกชื่อสั้นๆว่า ปลานิล และปีพ.ศ. 2532 บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้พัฒนาสายพันธุ์ใหม่ในโครงการปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา โดยคัดเลือกสายพันธุ์
ปลานิลจากสายพันธุ์ทั่วโลก 4 สายพันธุ์ ได้แก่
1. ปลานิลสายพันธุ์จากอเมริกา ลักษณะเด่น คือ มีสีสวย เนื้อสวย
2. ปลานิลสายพันธุ์จากอิสราเอล ลักษณะเด่น คือ มีหัวเล็ก สันหนา
3. ปลานิลสายพันธุ์จากไต้หวัน ลักษณะเด่น คือ โตเร็ว
4. ปลานิลสายพันธุ์จากจิตรลดา ของประเทศไทย ลักษณะที่โดดเด่น คือ มีความอดทน แข็งแรง
จากนั้น นำปลานิลทั้ง 4 สายพันธุ์มาผสมข้ามสายพันธุ์กัน เพื่อให้ได้ลักษณะเด่นของแต่ละสายพันธุ์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง จนได้สายพันธุ์ใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า “ปลาทับทิม” เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2541
สนใจท่องเที่ยวลุ่มน้ำบางขาม
ติดต่อ บ้านสวนขวัญ
ที่ตั้ง: 58 หมู่6 ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: โทรศัพท์: 084 775 1435