top of page

Ambassador's Residence or Vichayen House

Originally constructed by King Narai as a residence for Chevalier de

Chaumont, the first French ambassador to Thailand, Vichayen House's

most famous resident was actually Constantine Phaulkon, a Greek

advisor to the king.

บ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านวิชาเยนทร์

“บ้านวิชาเยนทร์”  หรือ

“บ้านหลวงรับราชทูต” ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสถานการณ์ที่นี้เป็นที่พำนักของ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางสำคัญในสมัยนั้น จึงได้ชื่อว่า
 “บ้านวิชาเยนทร์”

บ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านวิชาเยนทร์

นอกจากนี้เนื่องจากเมื่อครั้งทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ก็ได้พัก ณ สถานที่แห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า “บ้านหลวงรับราชทูต” อีกชื่อหนึ่ง.

อ.จำรัส เกียรติก้อง วาดภาพจากต้นฉบับ พ.ศ. ๒๕๐๙

บ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านวิชาเยนทร์
บ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านวิชาเยนทร์

พื้นที่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูต แบ่งเป็น ๓ ส่วน สังเกตได้จากประตูเข้าด้านหน้าซึ่งสร้างไว้สำหรับเป็นทางเข้า-ออก แต่ละส่วน คือ ส่วนทิศตะวันตกส่วนกลาง และส่วนทางทิศตะวันออก


ทางด้านทิศตะวันตกเป็นกลุ่มอาคาร ได้แก่ ตึก ๒ ชั้น หลังใหญ่ก่อด้วยอิฐ และอาคารชั้นเดียว แคบยาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งค รึ่งวงกลม ส่วนกลางมีอาคารสำคัญ คือ ฐานของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นหอระฆังและโบสถ์คริสต์ศาสนาซึ่งอยู่ทางด้านหลัง ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปจั่ว

ส่วนทิศตะวันออก ได้แก่ กลุ่มอาคารใหญ่ ๒ ชั้น มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้มประตูทางเข้ามีลักษณะเช่นเดียวกั บทางทิศตะวันตก ด้วยเหตุที่มีสิ่งก่อสร้างหลายหลังดังกล่าว จึงต้องสันนิษฐานว่าส่วนใดเป็นที่พำนักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

และส่วนใดเป็นที่พำนักของคณะทูตชาวฝรั่งเศส จากแผนผังบริเวณบ้านวิชาเยนทร์พบว่า ส่วนกลางและส่วนทางทิศตะวันออก มีสิ่งก่อสร้างซึ่งถูกสร้างขึ้นให้มีความสัมพันธ์กัน คือ โบสถ์และตึกหลังใหญ่ ๒ ชั้น และได้รับการก่อสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรง ดูสวยงาม บริเวณดังกล่าวจึงควรเหมาะสมใช้เป็นที่ต้อนรับทูตชาวต่างประเทศ


โบสถ์คริสต์ศาสนา คงใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาของบาทหลวงคณะเจซูอิด ซึ่งเข้ามาพร้อมกับคณะทูตหลายรูป ส่วนอาคารบริเวณทางทิศตะวันตก คงเป็นที่พักอาศัยของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

ลักษณะของสถาปัตยกรรมในบ้านวิชาเยนทร์ บางหลังเป็นแบบยุโรปอย่างแท้จริง

โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูนสูง ๒ ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตู

ของอาคารแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองค์

ซึ่งแพร่หลายในระยะเวลาเดียวกัน  ที่สำคัญอีก คือ อาคารที่เป็นโบสถ์คริสต์ศาสนา

ผังและแบบของโบสถ์ เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตู หน้าต่าง เป็นซุ้มเรือนแก้ว

มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาว  ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทย ถือว่าเป็นโบสถ์คริสต์ศาสนา

หลังแรกในโลก ที่ตกแต่งด้วยลักษณะของโบสถ์ทางพระพุทธศาสนา
          

เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เกิดที่แคว้นเซฟาโลเนีย (ประเทศกรีซ)  เมื่อ ค.ศ. ๑๖๔๗ (พ.ศ. ๒๑๙๐)  โดยมีเชื้อสายของชาวกรีกและเวนิช เข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ

ค.ศ. ๑๖๖๒ (พ.ศ. ๒๒๐๕) ฟอนคอนออกจากบ้าน และเดินเรือสินค้าไปค้าขายยังแดนต่างๆ ค.ศ. ๑๖๗๕ (พ.ศ. ๒๒๑๘)

เดินทางมายังสยามในฐานะพ่อค้า เนื่องจากมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย
           นอกจากภาษากรีกแล้ว ฟอลคอนมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปรตุเกส ฯลฯ

และเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลากี่ปี


           ต่อมา ฟอลคอนเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในตำแหน่งล่าม และเป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส จนกระทั่งได้กลายมาเป็นสมุหเสนา ในสมัยพระนารายณ์มหาราชในเวลาอันรวดเร็ว
           เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน จึงนับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา...

ทายาทของคอนสแตนติน ฟอลคอน

เผยประวัติศาสตร์ทายาทสายตรงของฟอลคอล และ มารี กีมาร์

ากกระแสนิยมของละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจประวัติศาสตร์กันอย่างกว้างขวาง และมีประเด็นหนึ่งที่อยู่ในความสนใจไม่น้อย คือ ชะตากรรมของคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิชเยนทร์

ล่าสุด เพจกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา โดยหนุ่มรัตนะและอชิรวิชญ์ ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับทายาทของคอนสแตนติน ฟอลคอน ซึ่งปรากฏใน Journal of the Siam Society Vol. 11.2 1914-15 เรื่อง An Early British Merchant in Bangkok (พ่อค้าอังกฤษคนแรกในกรุงรัตนโกสินทร์) โดย Adey R. Moore และเผยแพร่โดยกรมศิลปากร เนื้อหามีดังนี้

คอนสแตนติน ฟอลคอน แต่งงานกับ ท้าวทองกีบม้า ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกัน ๑ คน ซึ่งเมื่อบุตรชายท่านนี้ได้เติบโตได้รับราชการในแผ่นดินสยามในตำแหน่งทูต และถูกส่งไปยังเมืองท่าของฝรั่งเศส คือเมืองปอนดิเชอรี เป็นเมืองอยู่แถวชายฝั่งโคโรแมนเดล ประเทศอินเดีย บุตรชายท่านนี้ได้แต่งงานกับสตรีเชื้อสายโปรตุเกส และมีทายาทเป็นหญิงหลายคนและหนึ่งในนั้นเป็นชาย ชื่อ จอห์น


จอห์น (รุ่นหลานของฟอลคอน) ได้สืบพบว่าได้ถูกจับตัวกวาดต้อนเป็นเชลยไปยังพม่าด้วยเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แต่ว่าจอห์นได้หลบหนีกลับมาสยามได้อีกหลังจากนั้นใน ๒-๓ ปีต่อมา จอห์นได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถวย่านวัดซางตาครูส ซึ่งเป็นเชื้อสายของแม่จอห์นนั่นเอง หลานสาวคนหนึ่งของฟอลคอนตกเป็นเชลยพม่าเช่นเดียวกัน แต่ถูกนำตัวไปเมืองมะริด และได้พบรักกับ ฌอง ชี มีตำแหน่งยศร้อยเอกชาวโปรตุเกสรับราชการที่พม่า เป็นชาวคาทอลิกที่อพยพมาจากมาเก๊า และได้แต่งงานกันที่มะริดใน พ.ศ. ๒๓๑๑ และมีทายาทเป็นบุตรสาวชื่อฟิลิปปา (ยังมีชีวิตอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๐๔) และแต่งงานกับ ตาเวียน และได้อพยพมาอยู่ย่านซางตาครูสในกรุงสยาม

ฟิลิปปาและตาเวียน ให้กำเนิดทายาท คือ แองเจลินา ทรัพย์ (เกิด พ.ศ. ๒๓๔๘) แต่งงานกับ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ (นายหันแตร) ใน พ.ศ. ๒๓๖๘ มีทายาท คือ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ที่ ๒

ว่ากันว่านางแองเจลินา ทรัพย์นั้นมีผิวขาวสวย มีดวงตาเหมือนควีนวิคตอเรีย มีมารยาทงดงามเพราะได้รับการอบรมมาอย่างดีด้วย เพราะว่าในช่วงวัยเด็กได้ใช้ชีวิตอยู่วังหลัง ซึ่งยังปรากฏภาพของนางทรัพย์ในหนังสือของบาทหลวงปาเลอกัวซ์

โรเบิร์ต ฮันเตอร์ที่ ๒ ชื่อเดียวกับบิดาเกิดใน พ.ศ. ๒๓๗๐ ถูกส่งไปเรียนต่อที่สกอตแลนด์และได้กลับมาทำงานในเมืองไทย โดยบิดาได้สร้างอาคารให้เขาริมคลองย่านซางตาครูส ซึ่งอยู่เหนือโรงสินค้าหน้าบ้านนางทรัพย์นั่นเอง โรเบิร์ต ฮันเตอร์ที่ ๒ได้แต่งงานกับนางสาวโรซา รีไบโร เดอ อัลแวร์การีอัส น้อย (เป็นบุตรสาวของพระยาวิเศษสงคราม เป็นคาทอลิก) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ ในบันทึกของจอห์น คอรเฟิต บรรยายว่า “ในตอนบ่ายได้พบกับพระยาวิเศษสงคราม (ปาสกัลป์ รีไบโร เดอ อัลแวร์การีอัส) เป็นลูกหลานชาวคริสเตียนชาวโปรตุเกสในกัมพูชา ความสามารถของเขาโดดเด่น เนื่องจากไม่เพียงเขียนภาษาไทย เขมร และโปรตุเกสได้คล่องแล้ว ยังสามารถพูดและเขียนภาษาละตินได้อย่างถูกต้อง เขาได้แต่งงานกับลูกหลานที่สืบเชื้อสายจากชาวอังกฤษที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๔ พระยาวิเศษสงครามเป็นลูกหลานของชาวเขมร จึงมีบ้านช่องอยู่ที่บ้านเขมรสามเสน

โรเบิร์ต ฮันเตอร์ที่ ๒ เข้ารับราชการในสยามจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุรสาคร ซึ่งรับผิดชอบหน่วยงานด้านกรมท่า ในคราวท่านเซอร์ จอห์น บาวริ่ง นำเรือแรตเลอร์ เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น โรเบิร์ต ฮันเตอร์ที่ ๒ ได้ขึ้นไปบนเรือนี้ด้วย โดยท่านเซอร์บรรยายว่าเท่าที่เห็น มิสเตอร์ฮันเตอร์ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ดูแลในการต้อนรับข้าพเจ้าโรเบิร์ต ฮันเตอร์ที่ ๒ จดทะเบียนเป็นคนบังคับในสัญชาติอังกฤษเมื่อ ๒๐ มิถุนายน ๒๓๙๙ และถึงแก่กรรมโดยกะทันหันด้วยวัยเพียง ๓๘ เมื่อ ๑๙ เมษายน ๒๔๐๘ ที่บ้านซางตาครูสใกล้บ้านมารดาของเขา โรเบิร์ต ฮันเตอร์ที่ ๒ มีทายาท ๒ คน คือ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ที่ ๓ (๒๓๙๔-๒๔๓๒) และจอห์น (๒๓๙๖-๒๔๓๔) ทั้งคู่ไม่มีทายาท

น้องสาวต่างมารดาของ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ที่ ๓ ชื่อ โนรี เป็นสาวงามอีกคนหนึ่งได้สมรสกับ เบนจามิน บิง มีลูกหลานสืบต่อกันมาและรับราชการในกองทัพบกด้วย โดยเบนจามิน บิงนั้นเป็นพี่น้องกับหลวงอัคนีนฤมิตร (ฟรานซิส จิตร) ผู้โดดเด่นเรื่องการถ่ายรูปยุคแรกของสยาม


หากถึงปัจจุบันนี้ ชุมชมย่านวัดซางตาครูสยังคงอยู่ ก็คาดว่าจะมีทายาทของคอนสแตนติน ฟอลคอน สืบสายอยู่แน่นอน

ภาพ : ภาพลายเส้นคอนสแตนติน ฟอลคอน และนางแองเจลินา ทรัพย์

สุสานของฟอลคอน

เมื่อเดือน ส.ค.2557 เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ขุดซากฐานอิฐ สันนิษฐานเป็นโบสถ์คริสต์เก่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ในพื้นที่ชาวบ้านตรงข้ามวัดสันเปาโล ซอยพญาอนุชิต ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี พบโครงกระดูกมนุษย์ 2 โครง คาดอายุราว 300 กว่าปี โครงกระดูกแรกเป็นมนุษย์มีความสูงไม่เกิน 140 เซนติเมตร สวมแหวนหิน อีกโครงอยู่ห่างกันไปประมาณ 5 เมตร เป็นมนุษย์รูปร่างสูงใหญ่ ไม่มีกะโหลกศีรษะ


เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร คาดว่า มีความเป็นไปได้ที่โครงกระดูกทั้ง 2 โครงนี้ คือ โครงกระดูกของพระปีย์ พระราชโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีความพิการเตี้ยค่อม ถูกกลุ่มของพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์สังหาร เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2231 ด้วยเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ และอีกโครงเป็นของ พระยาวิชาเยนทร์ หรือคอนสแตนติน ฟอลคอน ขุนนางชาวกรีก ที่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถึงได้รับตำแหน่งเป็นสมุหนายก ก่อนถูกกลุ่มของพระเพทราชาจับกุมแล้วสังหารที่ลพบุรี เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2231 ทั้งนี้ คาดว่าหลังการเสียชีวิตของทั้งสอง มีผู้นำร่างของทั้งคู่มาฝังตามธรรมเนียมของคริสต์ศาสนาในพื้นที่ดังกล่าว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นแซงต์มิแชล
(Ordre de Saint-Michel) 


คอนสแตนซ์ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และขอให้ขุนนางไทยที่อยู่กับเขาตอนถูกประหารชีวิตส่งต่อให้จอร์จ
แต่ไม่ทราบว่าจะถึงมือจอร์จหรือไม่ เพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่ถูกริบเข้าหลวง


นายจอร์จแต่งงานกับหญิงชื่อลุยซา ปัสซัญญา(Louisa Passagna) มีลูกชายชื่อคอนสแตนตินเหมือนกับปู่ ต่อมาเมื่อนายจอร์จตาย นางลุยซาจึงแต่งงานใหม่กับชาวไอร์แลนด์ชื่อ 'คูลี' ซึ่งมีฐานะร่ำรวย

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ท้าวทองกีบม้า(ตอนนั้นใช้ชื่อว่า ดอญ่า กูโยมาร์ เดอ ปินา)กับลุยซาลูกสะใภ้ พยายามถวายฎีกาต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ ขอให้บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสคืนเงินส่วนที่คอนสแตนซ์เคยเข้าหุ้นไว้พร้อมดอกเบี้ย แต่ผู้อำนวยการบริษัทปฏิเสธจ่ายเงินโดยอ้างว่าว่าในเวลานั้นนางเป็นคนโปรดในราชสำนักอยุทธยามานานแล้ว นางเองก็ได้เป็นพระพี่เลี้ยงของพระโอรสด้วยจึงทำให้นางได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆมากมาย และก็กล่าวด้วยว่านางลุยซาก็ได้แต่งงานใหม่กับคูลีซึ่งร่ำรวยด้วย เรื่องที่ยื่นขอเงินมาจึงไม่ชอบด้วยเหตุผล 

บริษัทยังกล่าวอีกว่า 'คอนสแตนติน ฟอลคอนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อความที่ได้สัญญาไว้ เงินที่สัญญาว่าจะให้นั้นก็ได้ให้แต่ครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้รับทรัพย์มรดกของคอนสแตนติน ฟอลคอนมิได้เกี่ยวในการได้เสียของบริษัท จึงไม่ควรจะได้รับประโยชน์จากบริษัทอย่างใด แต่ควรจะต้องใช้เงินให้แก่บริษัทจึงจะถูก และข้อที่ขอร้องในเรื่องราวนั้นไม่มีแก่นสารอย่างใดเลย'

ซ้าย : พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ วาดโดย Jean Ranc ใน พ.ศ.๒๑๖๑
ขวา : เจ้าชายฟิลิปป์ที่ ๒ ดยุคแห่งออร์เลอองส์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕

บ้านวิชาเยนทร์ เปิดบริการให้เข้าชมระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น.

ยกเว้นวันจันทร์ และ อังคาร

หากต้องการ เข้าชมเป็นหมู่คณะ พร้อมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญบรรยาย
กรุณาติดต่อ 0868103413

Anchor 1
bottom of page